ระบบ Access Control เป็นอีกหนึ่งส่วนที่มีการใช้มากในปัจจุบัน โดยที่คุณอาจจะใช้อยู่ทุกวัน แต่อาจจะไม่รู้ตัว เนื่องจากชื่อ Access Control ไม่เป็นที่นิยม และดูเป็นศัพท์ทางเทคนิคมากเกินไป ดังนั้นเพื่อความเข้าใจจะขออธิบายเกี่ยวกับระบบ Access Control ว่าเกี่ยวกับอะไร มีแบบใดบ้าง
Access Control Access แปลว่าการเข้าถึง Control แปลว่าระบบการควบคุม รวมกันเป็นระบบควบคุมการเข้าออก แต่จะอธิบายให้เห็นภาพ ก็คือเป็นระบบที่จำกัดการเข้าหรือออก ในส่วนต่างๆ ที่มีการจำกัดไว้ โดยที่นิยมจะเป็นการผ่านประตู หรืออุปกรณ์เพื่อเข้าออกพื้นที่เฉพาะ ตัวอย่างระบบที่เห็นกันโดยทั่วไป ก็ได้แก่ระบบ Key Card โดยในอดีตเป็นการที่ใช้ในประตูโรงแรม โดยเป็นการใช้บัตรในการเสียบ โดยบัตรในยุคแรกจะเป็นกุญแจที่ทำจากสแตนเลสต้องเสียบเข้าไปในช่องที่หน้าประตู พกใส่กระเป๋าสตางค์ไม่ได้ และเมื่อหลังจากเปิดประตู ต้องนำไปเสียบเพื่อเปิดไฟ
ตัวอย่าง Key card ที่ใช้กับประตูห้องพักในโรงแรม
ช่องเสียบบัตร ที่เปิดประตู เพื่อเปิดระบบไฟในห้อง
ในยุคต่อมา ที่เทคโนโลยีเฟื่องฟู จนมีนวัตกรรมระบบ RFID ได้เข้ามา ได้ช่วยให้ระบบ Access Control ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว Key Card เดิม ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานขดลวด ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น บางขึ้น และมีราคาที่ถูกลง โดยบัตรรูปแบบมาตรฐาน เปลี่ยนเป็นบัตรเหมือนบัตร ATM ที่ไม่มีแถบแม่เหล็ก เมื่อนำไฟส่องจะเห็นถึงขดลวดแบบต่างๆกัน สามารถพกพาได้สะดวก สามารถพิมพ์ลายเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ได้ง่ายขึ้น และยังมีการเปลี่ยนเป็นแบบอื่นๆ เช่นพวงกุญแจขนาดเล็ก (tag) เพื่อความสะดวกในการพกพา และความทนทานอีกด้วย ด้วยเทคโนโลยี RFID นี้ทำให้การเข้าถึง Access Control เป็นไปได้ง่ายขึ้น
RFID มีประโยชน์อย่างไร
RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification มีหลักการทำงาน ด้วยการที่อุปกรณ์จะส่งคลื่นวิทยุ มาอ่านค่าจากขดลวดจากภายในบัตร หรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้ไม่ต้องมีการรูดหรือเสียบบัตรอีกต่อไป รวมถึงบางรุ่นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับตัวเครื่องอ่านอีกด้วย (Contact-Less) เพียงนำอุปกรณ์ไปไว้ในระยะ 3 – 6 เซ็นติเมตร ก็สามารถอ่านได้ทันที
RFID มีกี่ประเภทอย่างไรบ้าง และ ขดลวดใน บัตร RFID ต่างกันอย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า บัตร RFID มีการใช้งานขดลวดภายในบัตรที่ไม่เหมือนกัน และมีมาตรฐานในการอ่านของหัวอ่านที่ไม่เหมือนกันอีกเช่นกัน ดังนั้น เราจะมาอธิบายความแตกต่างของ ขดลวด ว่าแบ่งเป็นกี่รูปแบบอะไรบ้าง
RFID แบ่งออกตามคลื่นความถี่ได้ดังนี้
· ย่านความถี่ต่ำ (Low Frequency: LF) ต่ำกว่า 150 กิโลเฮิรตซ์ (kHz)
· ย่านความถี่สูง (High Frequency: HF) 13.56/27.125 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
· ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF) 433/868/915 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
· ย่านความถี่ไมโครเวฟ (Microwave frequency) 2.45/5.8 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
โดยปกติแล้ว บัตร RFID ที่เรามักใช้สำหรับงาน Access Control จะมีการใช้งานกันอยู่ใน 2 ย่านความถี่ โดยแต่ละย่านความถี่ก็มีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ในย่านความถี่ 125 kHz ที่อยู่ใน ย่านความถี่ต่ำ (LF) จะถูกเรียกว่า Proximity Card และในย่านความถี่ 13.75 mHz ที่อยู่ในย่านความถี่สูง (HF) จะถูกเรียก Mifare Card ด้วยย่านความถี่ที่ต่างกันของอุปกรณ์ที่เป็นไปตามมาตฐาน ชิป ที่ควบคุมบัตรเอง ก็ย่อมแตกต่างกัน โดยในแต่ละ Chip ซึ่งถูกฝังอยู่ภายในตัวบัตร (RFID Card) จะอ่านได้กับหัวอ่านที่รองรับกับตัวเองเท่านั้น และในการทำงานของหัวอ่านนั้นต้องมีการลงทะเบียนบัตรเพื่อใช้งานระบบ ดังนั้นจึงนิยมนำมาใช้ทำ ระบบควบคุมการเข้าออก
อีก 1 ใน สองประเภทที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก็คือ ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency: UHF) เป็นบัตรความถี่ UHF นิยมใช้ในกลุ่มงาน ลานจอดรถ หรือ Car Park เพื่อนำมาเป็นระบบควบคุมการเข้าออก สำหรับลานจอดรถ หรือหมู่บ้านต่างๆ โดยใช้คู่กับหัวอ่าน UHF ซึ่งในกลุ่มหัวอ่าน UHF จะถูกเรียกว่าหัวอ่านระยะไกล ด้วยความไกลของหัวอ่าน ทำให้นิยมใช้เพื่ออ่านบัตร ในระยะไกลมากๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพื้นที่
และสุดท้ายในส่วน RFID รูปแบบคลื่น ไมโครเวฟ (Microwave) เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่กำลังถูกวิจัยและพัฒนาในย่านความถี่ไมโครเวฟที่ความถี่ 2.4 GHz และความถี่ 5.8 GHz โดยในอนาคตคาดว่าจะมีการนำไปใช้งานในระบบคลังสินค้าเนื่องจากขนาดของสายอากาศที่เล็กมาก แต่ด้วยการพัฒนาอยู่นั้นเอง ทำให้ความนิยมยังมีไม่มากนัก
รูปแบบ บัตร RFID ที่ใช้ในระบบควบคุมการเข้าออก
RFID กับ ระบบควบคุมการเข้าออก
ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ด้วยระบบควบคุมการเข้าออก สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ และมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานกับระบบได้เป็นจำนวนมาก จึงมีการนำระบบไปประยุกต์ต่อเนื่องเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างมากมาย จะขอยกตัวอย่างระบบที่ นิยมใช้ระบบควบคุมการเข้าออก กันในปัจจุบัน
โรงแรม หอพัก อพาร์ทเม้นต์
เป็นการนำบัตร RFID มาใช้ร่วมกับลูกบิดพิเศษ ที่ออกแบบมาให้มีหัวอ่าน RFID ฝังมากับตัวประตู เพื่อให้อ่านบัตรได้ โดยแต่ละห้องไม่สามารถใช้ด้วยกันได้ ผ่านโปรแกรมควบคุม หรือ สำหรับหอพัก อพาร์ตเม้นต์ แฟลต ต่างๆ ที่มีการควบคุมการเข้าออก มีการใช้การ์ด หรือ tag พวงกุญแจ เพื่อเป็นการควบคุมผ่านประตูทางเข้าหลักของอาคาร ด้วยต้นทุนที่ไม่แพงมาก เพียงติดตั้งอุปกรณ์เท่านั้นก็สามารถควบคุมผู้ไม่พึงประสงค์ในการเข้าออกได้อย่างง่ายดาย
ห้างสรรพสินค้า
นอกจากในส่วนของลานจอดรถที่ใช้ RFID เพื่อดูแลทางเข้าออกแล้ว ก็ยังมีการใช้ TAG RFID เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้า ราคาแพง อย่างเช่น นมผง อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องสำอาง โดยเป็นรูปแบบ สติกเกอร์ หรือ ป้าย tag เพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย และในทางเข้าออกก็มีการติดตั้งหัวอ่านกันขโมยเพื่ออ่านสัญญาณจาก RFID
รูปแบบ บัตร RFID ในส่วนของการกันขโมย