การทำงานของระบบควบคุมการเข้าออก เป็นการทำงานร่วมกันของระบบหัวอ่าน หรือ Access Control ที่ติดตั้งกับอุปกรณ์กั้นทางแบบต่างๆ ทั้งเครื่องกั้นสามขา ประตูสามขา ประตูหมุน ประตูปีกผีเสื้อ Flap Barrier ประตูหมุนเต็มบาน หรือ Full Height แม้แต่การทำงานของประตูอัตโนมัติ หรือ กลอนแม่เหล็กสำหรับประตูก็สามารถใช้ร่วมกันได้

โดยหลักการทำงานคือ เมื่อหัวอ่าน หรือ ชุดควบคุมการเข้าออก สามารถอ่านบัตรที่มีในระบบได้ โดยการใส่บัตรเข้าในระบบสามารถทำได้ทั้งแบบ เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต (Online) และ แบบไม่เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต (Offline Standalone) หากผู้มีสิทธิ์สามารถผ่านได้ ระบบจะสั่งการทำงานผ่านกล่องควบคุมระบบการเข้าออก ไปที่ชุด ควบคุมประตู หรือ เครื่องกั้นทางแบบต่างๆ ให้สามารถทำงานได้ หากไม่มีสิทธิ์ ก็จะไม่มีการทำการใดๆ กับอุปกรณ์

ทำไมถึงต้องมีระบบควบคุมการเข้าออก

ส่วนใหญ่เหตุผลจะมาจากการที่ส่วนนั้นๆ ไม่เป็นที่สาธารณะ หรือ เปฺ็นที่ที่ต้องมีความปลอดภัยสูง รวมถึงเป็นสถานที่ ที่ต้องการเก็บค่าผ่านทาง เพื่อตรวจสอบข้อมูลว่ามีการผ่านทางอย่างถูกต้องหรือไม่ การนำอุปกรณ์และเครื่องกั้นทางต่างๆ มาใช่ก็เพื่อตอบโจทย์ในการใช้งาน

Access Control สามารถใช้งานเป็นเครื่องลงเวลาทำงาน

อุปกรณ์เสริมใดที่นิยมติดกับอุปกรณ์เครื่องกั้นทาง

อย่างที่กล่าวไปว่า เหตุผลหลักที่ต้องมีการใช้เครื่องกั้นทาง กล่าวคือ ต้องการควบคุมช่องทาง หรือ การจำกัดการการผ่านเข้าออกสำหรับพื้นที่นั้นๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะติดกับเครื่องกั้นทางแบบใดก็เป็น ระบบกั้นทางเข้าออกทั้งสิ้น แต่ความนิยมที่ใช้งานก็ต่างกันไปตามความสะดวกในการใช้งาน และเหตุผลทางด้านราคา ยกตัวอย่างได้ดังนี้

เครื่องกั้นทางที่นิยม ระบบการควบคุมที่นิยมใช้ร่วมกัน
ประตูอัตโนมัติ
(Automatic Door)
  • เครื่องทาบบัตร
  • เครื่องอ่านลายนิ้วมือ
  • เครื่องทาบบัตรแบบพวงกุญแจ
  • เครื่องรูดบัตร (รุ่นเก่า)
ประตูปีกผีเสื้อ
(Flap Barrier)
  • เครื่องทาบบัตร
  • เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
  • เครื่องสอดบัตร (คล้ายกับรถไฟฟ้า)
  • เครื่องตรวจสอบและควบคุมค่าอื่นๆ
เครื่องกั้นสามขา
(Tripod Turnstile)
  • เครื่องทาบบัตร
  • เครื่องอ่านลายนิ้วมือ
  • เครื่องรับเหรียญอัตโนมัติ
ประตูหมุนผลักเต็มบาน
(Full Height)
  • เครื่องทาบบัตร
  • เครื่องสแกนลายนิ้วมือ

ตัวอย่างการใช้งาน ร่วมกันของอุปกรณ์

การใช้งานร่วมกันของเครื่อง ESD เครื่องทาบบัตร และเครื่องกั้นสามขา ของโรงงาน

โดยทุกครั้งที่จะผ่านเข้าส่วนความปลอดภัย จำเป็นต้อง ทาบบัตร เพื่อยืนยันการเข้าส่วนพื้นที่นั้น เมื่อทาบบัตรแล้วจะมีใช้เครื่อง ESD เพื่อตรวจสอบค่าไฟฟ้าสถิต เมื่อต่ำกว่า 100 เครื่องกั้นสามขาจะสามารถหมุน เพื่อให้เดินผ่านเข้าส่วนเฉพาะได้

การใช้เครื่องสามขา หรือประตูหมุนสามขา กับเครื่องหยอดเหรียญ

ความสามารถของเครื่องกั้นทาง ประตูหมุนสามขาเองจะทำงานด้วยการหมุนเพียง 1 ครั้งเพื่อให้ผ่านได้ 1 คน ดังนั้นเมื่อนำมาต่อพ่วงกับ เครื่องหยอดเหรียญแล้ว เมื่อมีการหยอดเหรียญจนครบราคาที่กำหนด จะสามารถสั่งให้ประตูหมุน เพื่อให้ผ่านไปยังส่วนนั้นๆได้ ส่วนในขาออก สามารถตั้งให้ออกได้ตลอด (ประตูหมุนอิสระ) หรือ ต้องมีการกดปุ่ม เพื่อออกได้

ด้วยชุดการควบคุมที่หลากหลาย จึงสามารถเลือกใช้งานตามความต้องการ หากไม่แน่ใจสามารถปรึกษาเราเพื่อช่วยดูแลความต้องการของท่านได้